การขอใบอนุญาต กสทช.

ตามคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) กำหนดสำหรับอุปกรณ์ RFID เป็นหนึ่งในกลุ่มอุปกรณ์ที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ ได้ให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาต สำหรับการซื้อขายและการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ อาร์เอฟไอดี คลื่นความถี่สูงยิ่ง (RFID Ultra High Frequency 920-925 Mhz.) หากผู้ใดมิได้ทำการขออนุญาต ถือว่ามีความผิดจะมีบทลงโทษ ทางกฎหมาย 

ดังนั้น บริษัท สมาร์ทไอเดนทิฟาย จำกัด เรามีบริการในการดูแล เดินเอกสารเพื่อขออนุญาตต่างๆ กับทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้ลูกค้าสะดวกสบายยิ่งขึ้นในการเดินเอกสารขอใบอนุญาติดังนี้ 

1) ใบอนุญาตค้า : สำหรับผู้ขายอุปกรณ์ 

สำหรับลูกค้าที่ต้องการเป็นผู้ขายอุปกรณ์ RFID ทาง กสทช. กำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตค้า สำหรับอุปกรณ์กลุ่มนี้ ดังนั้นหากลูกค้าท่านใดที่จะซื้อสินค้าเพื่อนำไปขาย แนวทางที่ถูกต้องคือต้องทำเอกสารใบอนุญาตค้าไว้ ณ.สถานประกอบการ ใบอนุญาตค้า ต้องต่ออายุทุก 1 ปี
*
ประกอบกิจการค้าเครื่องมือสื่อสาร เครื่องโทรคมนาคม เครื่องรับส่งวิทยุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

2) ใบอนุญาตตั้ง : สำหรับลูกค้า

เฉพาะลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ RFID ย่านความถี่ UHF 920 - 925 Mhz. เพื่อนำไปใช้งานในสถานประกอบการ ทำครั้งเดียวสำหรับ 1 ที่อยู่ ที่นำมาติดตั้งที่สถานประกอบการ เช่น ลูกค้าซื้อ Fix Reader U2681 ครั้งแรก 1 เครื่อง ตอนต้นปี  ก็ทำใบอนุญาตตั้ง แต่พอพอมากลางปี ซื้อรุ่นนี้อีก ก็ไม่ต้องทำขอใบอนุญาตนีัอีกแล้วเพราะถือว่าขออนุญาตสำหรับการใช้เครื่องรุ่นนี้แล้ว สรุป ขอครั้งเดียวถ้ายังใช้ Model เดิม   

3) ใบอนุญาตใช้ : สำหรับลูกค้า 

เฉพาะลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ RFID ย่านความถี่ UHF 920-925 Mhz. เพื่อใช้อุปกรณ์อาร์เอฟไอดี ในสถานประกอบการ จะต้องทำอนุญาตทุกครั้งที่มีการซื้อเครื่องไปติดตั้งในสถานประกอบการ เช่น ลูกค้าซื้อเครื่องรุ่น U2861 ครั้งแรก ตอนต้นปี ก็จะต้องทำใบอนุญาตใช้ พอกลางปีซื้อมาเพื่อใช้อีก ก็ต้องทำใบอนุญาตใช้อีก สรุปคือ ขอทุกครั้งที่มีการซื้อเครื่องเพิ่ม มาติดตั้ง

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
ตามมาตรา 6 ได้กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือ ค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต มาตรา 9 ใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติ มีดังนี้

  1. ใบอนุญาตให้ทำ ให้มีอายุ 180 วันนับแต่วันออก
  2. ใบอนุญาตให้มี ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก
  3. ใบอนุญาตให้ใช้ ให้มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม
  4. ใบอนุญาตให้นำเข้า ให้มีอายุ 180 วันนับแต่วันออก
  5. ใบอนุญาตให้นำออก ให้มีอายุ 30 วัน นับแต่วันออก
  6. ใบอนุญาตให้ค้า ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก เว้นแต่ใบอนุญาตที่ออกให้เพื่อการซ่อมแซม โดยเฉพาะ ให้มีอายุห้าปี นับแต่วันออก
  7. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ให้มีอายุตลอดระยะเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตใช้สถานีตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นสถานีวิทยุคมนาคม
  8. ใบอนุญาตพนักงาน วิทยุคมนาคม ให้มีอายุ 5 ปี นับแต่วันออก
  9. ใบอนุญาตให้รับข่าววิทยุคมนาคมจากต่างประเทศเพื่อการโฆษณา ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออก ผู้ได้รับใบอนุญาตตาม (1) (3) (4) (5) (6) หรือ (7) ให้ถือว่า ได้รับอนุญาต ให้มีเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย

การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง
เครื่องวิทยุคมนาคมและเครื่องรับ เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียงเป็นสินค้าที่ต้องมีขออนุญาตก่อนการนำเข้าและ/หรือส่งออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกใบอนุญาต คือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยรายชื่อสินค้าและพิกัดศุลกากรที่ต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าประกอบไปด้วย

Visitors: 431,970